วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552

My Designer Hero

EatingDesigner

Marije Vogelzang ,Netherland Amsterdam.



Marije Vogelzang นักออกแบบผู้ทำงานกับอาหาร จนถูกเรียกเสมอว่าเป็น นักออกแบบอาหาร ด้วยการออกแบบไม่เพียงแค่ความสวยงาม แต่เธอยังมองไปถึง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของอาหาร จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเธอจึงไม่เรียกว่าตัวเองว่าเป็นนักออกแบบอาหาร food designer แต่เป็นอันดับหนึ่งในประเทศเนเธอร์แลนด์ “นักออกแบบประสบการณ์การทานอาหาร” eating designer


แนวความคิดบ่อยครั้งที่คนทั่วไปมักคิดเสมอว่า นักออกแบบที่ทำงานกับอาหาร ก็แค่ออกแบบรูปทรงของอาหาร แต่ความตั้งใจของ Vogelzang คือการมองเข้าไปถึง ความหมาย เนื้อหาสาระและที่มาของอาหาร รูปทรงของอาหารสำหรับเธอนั่น มันก็แค่เครื่องมือที่เอาไว้ใช้เล่าเรื่องเท่านั้นเอง



หลังจากประสบการณ์ 10 ปีในโปรเจ็คต์อาหาร Vogelzang ก็ได้พัฒนาปรัชญากับ 8 แรงบันดาลใจที่จะทำงานกับอาหาร
The 8 points are:- senses- nature- culture- society- technique- psychology- science- action




ผลงาน Eating on the beat

เป็นการใช้อาหารเป็นเหมือนเครื่องดนตรี ประกอบจังหวะโดยอิงหลักจากอุปนิสัยการเคี้ยวอาหารแต่ละชนิด อย่างเช่น เม็ดถั่วอัลมอนต์ เท่ากับ เขบ็ตสี่ชั้น แยมบลูเบอร์รี่ใช้เวลาเคี้ยวเท่ากับ โน้ตตัวดำ ผลงานจึงออกมาคล้าย บรรทัด ห้าเส้น ที่มีตัวโน้ตกำกับของแต่ละชิ้นอยู่

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

GreenLabel





แนวคิด เกิดจากการ Brainstorm ในคลาสเรียน หยิบคำว่าต้นไม้ เมื่อนึกถึงต้นไม้ของไทย นึกถึงต้นกล้วย


อีกทั้งเมื่อดูในเนื้อหาและ เรื่องราวของต้นกล้วยแล้ว ต้นกล้วยก็ยังมีประโยชน์ตั้งแต่ใบกระทั่งหัวปลี เรียกได้ว่า


สามารถทำมาใช้ประโยชน์ทั้งส่วน ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด ซึ่งเหมาะกับฉลากเขียวที่มีจุดประสงค์ให้ทุกคนใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่าที่สุด






วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

งานปล่อยแสงสาม




งานปล่อยแสงสาม
ได้ไปชมนิทรรศการนี้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2552 เวลา 12.00 โดยรวมถือว่าประทับใจผลงานอยู่หลายผลงานเช่นกัน เพราะมีไอเดีย แนวความคิดที่ค่อนข้างสดใหม่ เมื่อดูแล้วก็รู้สึกกระตือรือร้นที่จะพัฒนาผลงานของตนเองให้ดีขึ้น



ผลงานโดย นิชานันท์ จิรกุลพิพัฒน์
ศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ผลงานนี้ที่ชอบก็คือ เป็นการนำหนังสือเรียนชั้นมัธยมวิชาสังคมศึกษา มาออกแบบให้น่าอ่านยิ่งขึ้น เพื่อให้นักเรียนมีความสนใจในการอ่าน เพราะหนังสือเรียนที่มีแต่ตัวหนังสือเป็นพืดๆ พูดได้ว่าค่อนข้างจะปิดกั้นความกระตือรืนร้นในการอ่านหนังสือของช่วงวัยรุ่น เพราะ ช่วงวัยนั้นมักจะไม่ชอบทำอะไรซ้ำๆเดิมๆ เป็นเวลานาน การออกแบบหนังสือเรียนให้มีภาพประกอบ ถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่นักเรียน นักศึกษา



ผลงานโดย มุกร้อย พึ่งรัศมี
ศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประทับใจผลงานนี้ตั้งแต่ช่วงมีนา ได้ไปดูงานที่หอศิลป์ โชว์ในห้องหนึ่งห้องประทับใจในความตั้งใจมาก แต่เพิ่งได้มารู้คอนเซปต์ตอนมางานปล่อยแสงนี้ก็ยิ่งประทับใจ คอนเซปต์ได้มาจากตุ๊กตาที่ซ้อนกันจากตัวเล็กเป็นตัวใหญ่ของรัสเซีย เหมือนสิ่งที่ตกทอดจากรุ่นแม่สู่ลูก ผลงานที่ออกมา มีสีอ่อนหวาน ใช้ผ้าดิบในการตัดเย็บ เดินด้ายคู่เส้นใหญ่ แล้วสไตว์การเย็บก็ไม่ได้เนี๊ยบมากมาย ให้ความรู้สึกแบบดิบๆ


ผลงานโดย รวิยา เลิศเอนกวัฒนา
นิเทศศิลป์
มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผลงานชุดนี้เป็นเกียวกับของเล่นไม้ที่มีเสียงต่างๆ และจะมีคำอธิบายเกี่ยวกับตัวของเล่นแต่ละอัน โดยส่วนตัวชอบ เพราะมีประโยชน์สำหรับเด็กเล็ก ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้เด็กๆได้ดี ฝึกทักษะการรับรู้ของเสียง

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

CONTEM::HOMEWORK

ประกวดการออกแบบอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม
รางวัลสำหรับการออกแบบเพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าสีเขียว สำหรับครั้งแรกของปีนี้ที่ Greener Gadgets Conference ในเมืองนิวยอร์ค เปิดขึ้นเพื่อก่อตั้งหุ้นส่วนการออกแบบ รวมนักออกแบบและนักศึกษาด้วยการออกแบบเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ ปีนี้รางวัลชนะเลิศที่ดีที่สุดสามงานจะได้รางวัลมูลค่า$1,000 เหรียญและ$3,000 เหรียญ
Greener gadget contest
www.core77.com/competitions/greener_gadgets.asp
Awards for design innovations for greener electronics. Presented for the first time this year at the Greener Gadgets Conference in New York City. Open to established design firms, emerging designers and design students to come up with new and innovative solutions to address the issues of energy, carbon footprint, health and toxicity, new materials, product life cycle and social development. This year three top prizes of $1,000 and $3,000 were awarded. The organizers hope to sponsor the contest again next year.



การแข่งขันระดับชาติที่เปิดให้ทั้งนักศึกษาและมืออาชีพพัฒนา การออกแบบตึกขึ้นมาใช้ใหม่ การวางผังที่รักษาโครงสร้าง ลดการทำลายวัสดุ และลดก๊าสเรือนกระจกโดยการออกแบบสำหรับการดัดแปลง และนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ ส่งได้ถึง 31 กรกฎาคมศกนี้
The Lifecycle Building Challenge 2
http://www.lifecyclebuilding.org/
National competition open to students and professionals to develop lifecycle-building strategies — that is, strategies that conserve construction and demolition materials and reduce greenhouse-gas emissions by designing buildings for adaptability, disassembly and building material reuse.
Outstanding achievement awards will be given to Best Greenhouse Gas Reduction, Best Residential and Best School entries. Winners will receive national recognition and the opportunity to present their idea to national green-building leaders. The deadline for submitting entries is July 31.

CONTEM::HOME

Home by Yann Arthus-Bertrand
เป็นหนังสารคดีสิ่งแวดล้อม โดยผู้กำกับชาวฝรั่งเศส Yann Arthus-Bertrand หนังเรื่องนี้เปิดตัวพร้อมกันในวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยผู้ชมสามารถเลือกรับชมได้ตามช่องทางที่ตนเองสะดวก (ดีวีดี ทีวี Youtube และโรงภาพยนตร์)


เนื้อเรื่องนำเสนอเริ่มต้นด้วยการเกริ่นถึงโลก การเกิดธรรมชาติ ก่อนการมีมนุษย์ ความสมดุลของโลกที่มีความพอดี พอเพียง ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนพึ่งพิงพึ่งพาอาศัยกันและกัน พืช สัตว์ น้ำ ดิน อากาศแต่เมื่อมนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกใบนี้แล้วมนุษย์ก็เริ่มขวนขวายความก้าวหน้า ด้วยอัจฉริยภาพของมนุษย์ที่สามารถตระหนักจุดอ่อนของตนเอง จึงสร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นมาเพื่อชดเชยกับกิเลสที่ไม่มีที่สิ้นสุดของตนเอง เริ่มตั้งแต่การทำเกษตร ปศุสัตว์จนกระทั่งถึงอุตสาหกรรม ซึ่งผลการกระทำทั้งหลายของมนุษย์นี้ลงเอยที่ธรรมชาติทั้งสิ้น ระบบทั้งหลายทั้งปวงซึ่งมนุษย์ได้รับการนำมาปรับใช้เพื่อสร้างกำไรให้กับอุตสาหกรรมเหล่านี้ แต่แท้จริงแล้ว ระบบเหล่านั้นเผาผลาญทรัพยากรของโลกมากกว่าที่พวกเราคิด เนื้อเรื่องยังเน้นย้ำระยะเวลาที่กว่าโลกจะสร้างธรรมชาติขึ้นมา และเวลาที่มนุษย์ใช้เวลาทำลายธรรมชาติได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น นาฬิกาของโลกพ่ายแพ้ให้กับเครื่องจักรน้ำมัน ในท้ายที่สุดเรื่องราวได้ให้บทสรุปที่ว่า ถึงอย่างไรก็ตาม วันนี้ก็ยังไม่สายหากมนุษย์โลกจะหันกลับมาดูแลธรรมชาติอย่างแท้จริง ด้วยการรีไซเคิล ใช้พลังงานทางเลือกทดแทน เป็นต้น
ด้านการสร้างภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ ก็ทำให้คนดูรู้สึกอึดอัดใจตามไปกับเรื่องราวที่ดำเนินมา ซึ่งอาจเป็นเพราะด้วยน้ำเสียงบรรยายด้วย แต่ด้วยมุมกล้องที่ถ่ายภาพบนโลกในโลเคชั่น 50 กว่าประเทศ ทำให้โดยรวมไม่อึดอัดจนเกินไป

Keyword

1.ชีวิตปรับตัวให้กับที่อยู่2.เมื่อทำให้ป้องกันตัวมนุษย์เองได้ยิ่งขึ้น3.เด็กๆคือทรัย์สินอย่างเดียวของครอบครัว4.อัจฉริยภาพของมนุษย์คือการตระหนักจุดอ่อนของตัวเอง5.การคิดค้นของการเกษตรเปลี่ยนแปลงทางเดินอาหารของสัตว์ป่า6.นาฬืกาของโลกพ่ายแพ้ให้กับเครื่องจักรน้ำมัน7.ยิ่งโลกพัฒนาเท่าไหร่ก็ยิ่งกระหายพลังงาน8.ไม่มีสิ่งใดในโลกอยู่อย่างโดดเดี่ยว9.สุดยอดสสารที่น่าทึ่งก็คือน้ำ10.ต้นไม้เติบโตขึ้นด้านบนตลอดเวลา

CONTEM::COTTONUSATSHIRT



แนวคิด : แจกัน หากได้ดอกไม้ซักช่อปักอยู่ ก็ดูน่ามองยิ่งขึ้น ดอกไม้ หากได้อยู่บนแจกันก็ยิ่งทวีความงามขึ้นอีก
จึงได้มาเป็นไอเดียของผลงานชิ้นนี้ คือ ดอกฝ้ายบนแจกันลายลูกโลก



วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ตาลอยด์มนุษย์ช้าง




อัพเดทจากที่เคยอัพไว้นะคะรูป