วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

GreenLabel





แนวคิด เกิดจากการ Brainstorm ในคลาสเรียน หยิบคำว่าต้นไม้ เมื่อนึกถึงต้นไม้ของไทย นึกถึงต้นกล้วย


อีกทั้งเมื่อดูในเนื้อหาและ เรื่องราวของต้นกล้วยแล้ว ต้นกล้วยก็ยังมีประโยชน์ตั้งแต่ใบกระทั่งหัวปลี เรียกได้ว่า


สามารถทำมาใช้ประโยชน์ทั้งส่วน ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด ซึ่งเหมาะกับฉลากเขียวที่มีจุดประสงค์ให้ทุกคนใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่าที่สุด






วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

งานปล่อยแสงสาม




งานปล่อยแสงสาม
ได้ไปชมนิทรรศการนี้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2552 เวลา 12.00 โดยรวมถือว่าประทับใจผลงานอยู่หลายผลงานเช่นกัน เพราะมีไอเดีย แนวความคิดที่ค่อนข้างสดใหม่ เมื่อดูแล้วก็รู้สึกกระตือรือร้นที่จะพัฒนาผลงานของตนเองให้ดีขึ้น



ผลงานโดย นิชานันท์ จิรกุลพิพัฒน์
ศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ผลงานนี้ที่ชอบก็คือ เป็นการนำหนังสือเรียนชั้นมัธยมวิชาสังคมศึกษา มาออกแบบให้น่าอ่านยิ่งขึ้น เพื่อให้นักเรียนมีความสนใจในการอ่าน เพราะหนังสือเรียนที่มีแต่ตัวหนังสือเป็นพืดๆ พูดได้ว่าค่อนข้างจะปิดกั้นความกระตือรืนร้นในการอ่านหนังสือของช่วงวัยรุ่น เพราะ ช่วงวัยนั้นมักจะไม่ชอบทำอะไรซ้ำๆเดิมๆ เป็นเวลานาน การออกแบบหนังสือเรียนให้มีภาพประกอบ ถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่นักเรียน นักศึกษา



ผลงานโดย มุกร้อย พึ่งรัศมี
ศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประทับใจผลงานนี้ตั้งแต่ช่วงมีนา ได้ไปดูงานที่หอศิลป์ โชว์ในห้องหนึ่งห้องประทับใจในความตั้งใจมาก แต่เพิ่งได้มารู้คอนเซปต์ตอนมางานปล่อยแสงนี้ก็ยิ่งประทับใจ คอนเซปต์ได้มาจากตุ๊กตาที่ซ้อนกันจากตัวเล็กเป็นตัวใหญ่ของรัสเซีย เหมือนสิ่งที่ตกทอดจากรุ่นแม่สู่ลูก ผลงานที่ออกมา มีสีอ่อนหวาน ใช้ผ้าดิบในการตัดเย็บ เดินด้ายคู่เส้นใหญ่ แล้วสไตว์การเย็บก็ไม่ได้เนี๊ยบมากมาย ให้ความรู้สึกแบบดิบๆ


ผลงานโดย รวิยา เลิศเอนกวัฒนา
นิเทศศิลป์
มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผลงานชุดนี้เป็นเกียวกับของเล่นไม้ที่มีเสียงต่างๆ และจะมีคำอธิบายเกี่ยวกับตัวของเล่นแต่ละอัน โดยส่วนตัวชอบ เพราะมีประโยชน์สำหรับเด็กเล็ก ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้เด็กๆได้ดี ฝึกทักษะการรับรู้ของเสียง